บันเทิง
กศน. แจง พิมรี่พาย ประเด็นเด็กดอยไม่มีไข่เจียวกิน
เหมือนงานจะเข้าอีกรอบ สำหรับยูทูบเบอร์และบิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดัง พิมรี่พาย เมื่อวันเด็กที่ผ่านมาเธอได้เผยคลิปแบ่งปันความสุขให้กับเด็กบนดอยสูงที่หมูบ้านแม่เกิบ จ.เชียงใหม่ ควัดเงิน 5 แสนบาทนำแผงโซล่าเซลล์ ซื้อทีวีจอใหญ่ไปติดต่อให้กลางหมู่บ้านพร้อมกับของใช้จำเป็นไปแจกจ่าย ซึ่งเด็กดีใจกันยกใหญ่ มีอยู่ช่วงหนึ่งในคลิปที่ พิมรี่พาย “ได้ถามหนูเคยกินไข่เจียวไหมลูก” ซึ่งเด็กดอยก็ตอบกลับไปว่า “ไข่เจียวไม่เคยกิน”
และในขณะเดียวกันนักวิชาการท่าหนึ่ง อรอานันท์ แสงมณี ซึ่งเป็นนักวิชารการศึกษาปฏิบัติการ กลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่ายสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงถึง พิมรี่พาย ประเด็นไข่เจียว การปลูกผัก การแสไฟฟ้าให้หมู่บ้านว่า”
เนื่องจากมีกระแสในโลกออนไลน์จากยูทูปเบอร์ชื่อดังคนหนึ่ง และเราได้มีส่วนร่วมในการทำงานของ ศศช. ทำให้เกิดความไม่สบายใจ และมีข้อมูลบางอย่างที่คลาดเคลื่อน👍👍จึงขออนุญาตใช้พื้นที่เล็กๆแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ศศช.หรือศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ”แม่ฟ้าหลวง” เป็นสถานศึกษาในสังกัด สำนักงาน กศน.กระทรวงศึกษาธิการ เป็นการจัดการศึกษาชุมชนที่ยึดชุมชนเป็นหลัก
จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนทั้งชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งการศึกษาต่อ มีอาชีพ และพัฒนาอาชีพของตนเอง ให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนำมาเป็นส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับชุมชน มามากกว่า 40 กว่าปี
มีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ดังนี้
1.เด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-6 ปีจัดกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โภชนาการและดูพัฒนาการเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.เด็กวัยเรียนที่ไม่ได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียน อายุ 7-14 ปีกลุ่มนี้ ศศช.บางแห่งเป็นสถานศึกษาพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ดูแลทั่งด้านโภชนาการ สุขอนามัย วิชาการจริยธรรม ฯลฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.กลุ่มเป้าหมายผู้ใหญ่ อายุ 15 -59 ปีกลุ่มนี้จัดการศึกษาพัฒนาอาชีพและทักษชีวิตการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงทักษะฟังพูดอ่านเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารและรับบริการเช่นสถานพยาบาลเวลาเจ็บป่วยจะได้แจ้งอาการถูก เป็นต้น
4.ผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไปจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน ปกติครูทำหน้าที่สอนเด็กและประชาชนในชุมชน เป็นการจัดการศึกษาตามบริบทชุมชนและโครงการอื่นๆในพื้นที่จากหลายหน่วยงานโดยให้ ครูศศช.เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการ (บาง ศศช.เป็น 10 โครงการก็มี)และมักมีเครือข่ายมาให้การสนับสนุนอยู่บ่อยๆ
ทั้งเรื่องของ อาคารเรียน ศศช. ที่จะถูกสร้างการสนับสนุนจากผู้ที่สนใจ (แต่เดิมชาวบ้านในชุมชนเป็นคนสร้างอาคาร ศศช.)ข้าวของเครื่องใช้ อาหารและยารักษาโรคต่างๆ ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามพื้นฐานหรือจากผู้ให้การสนับสนุนด้วยพื้นที่ห่างไกล ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าไปไม่ถึงในบางพื้นที่ใช้พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ หรือน้ำ แต่อาจจะไม่ได้มีทั้งชุมชน
ภายใน ศศช. จะมีพลังงานทดแทนเหล่านี้สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนภายใน ศศช.จากกระแสเรื่องราวของ ศศช.ที่ได้ถูกประชาสัมพันธ์และเผยแพร่อยู่ในขณะนี้ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย หากท่านใดสนใจข้อมูลอยากให้การสนับสนุน ศศช. 808.แห่งในพื้นที่ 14 จังหวัด
ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา ลำพูน ลำปาง กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี พังงาสามารถติดต่อสำนักงาน กศน.จังหวัด ทั้ง 14 จังหวัดที่ได้แจ้งไว้ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจและยินดีอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุน ศศช. นะคะCr.ภาพประกอบจาก FB ศศช.บ้านแม่เกิบPathasit Phasithphat — Boo NG
อยากอธิบายว่า ประเด็นที่ 1 เด็กในพื้นที่ที่เขาไม่รู้จัก”ไข่เจียว” เนื่องจากเขาเรียกกันว่า “ทอดไข่” ประเด็นที่ 2 ถ้าเด็กๆไม่รู้จักวิธีปลูกผัก เขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีผักรับประทาน**และยังมีประเด็นอื่นๆ ที่น่าคิด เช่น ในคลิปบอกว่าในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ การศึกษาเข้าไม่ถึง
แต่ในคลิปของยูทูปเบอร์ท่านนั้นที่ถ่ายตอนต้นคลิป(มุมสูง) ยังมีจานดาวเทียมตั้งตระง่านอยู่ในหมู่บ้านเลย คือ??*** อยากให้ทุกท่านได้เข้าไปดูในเพจของ ศศช.บ้านแม่เกิบ จะช่วยอธิบายอะไรหลายๆอย่าง เพื่อความเป็นกลางค่ะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ🙏🙏🙏 ”
ขอบคุณข้อมูล:อรอานันท์ แสงมณี
เรียบเรียงโดย:iamfatcat
