จากกรณี พระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) หรือ เจ้าคุณแย้ม เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ในฐานะเจ้าคณะภาค 14 วัย 69 ปี พร้อมทนายและพระติดตามจำนวนหนึ่ง ได้เข้ามอบตัวต่อกองบัญชาการตำรวจสอบ สวนกลาง ( บช.ก.) หลังศาลอนุมัติหมายจับในข้อหายักยอกเงินวัดจำนวนกว่า 300 ล้านบาท
เล่นพนันบาคาร่าออนไลน์ ผ่านโบรกเกอร์สาวคนหนึ่ง จนมีผู้ถูกร้องเรียนมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังตำรวจ ส่งสายลับแฝงตัวเพื่อสิบหาหลักฐานในวัดนานกว่า 8 เดือน จนพบมีพฤติการณ์ตามที่ถูกกล่าวหาจริง
ทำให้สังคมต่างจับจ้องไปที่แหล่งรายได้ของวัดไร่ขิง ที่มีเงินหมุนเวียนมหาศาล ซึ่งพบว่าวัดนั้นมีแหล่งรายได้หลายช่องทางด้วยกัน
1. การบริจาคและทำบุญ
– ตู้บริจาค จุดสำคัญที่พุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา กระจายอยู่ทั่วบริเวณวัด
– การถวายสังฆทาน
– การบริจาคออนไลน์
– การบริจาคเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น งานบุญประจำปี งานทอดกฐิน ทอดผ้าป่า หรือวันสำคัญทางศาสนา จะมีการรวบรวมเงินบริจาคเพื่อโครงการต่างๆ
2. วัตถุมงคลและของที่ระลึก
– หลวงพ่อวัดไร่ขิงรุ่นต่างๆ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูง มีหลากหลายรูปแบบและราคา
– เครื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เหรียญที่ระลึก ซึ่งผ่านพิธีปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์
– หนังสือธรรมะและสื่อธรรมะ สิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
– ของที่ระลึก เช่น รูปหล่อหลวงพ่อวัดไร่ขิง ภาพถ่าย โปสการ์ด
3. การจัดกิจกรรมและงานบุญ
– งานประจำปี งานสำคัญที่ดึงดูดผู้คนจำนวนมาก มีกิจกรรมทางศาสนา การแสดง และร้านค้าต่างๆ เป็นแหล่งรายได้สำคัญของวัด
– งานทอดกฐินและผ้าป่า
– การจัดอบรมและปฏิบัติธรรม
4. การให้เช่าพื้นที่
– ร้านค้า พื้นที่ภายในวัดที่ให้เช่าแก่ร้านค้าต่างๆ จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก และสินค้าอื่นๆ
– แผงจร จัดสรรพื้นที่ให้พ่อค้าแม่ค้าเข้ามาจำหน่ายสินค้าในช่วงที่มีผู้คนจำนวนมาก
5. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
– เงินอุดหนุน วัดในฐานะพระอารามหลวง อาจได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐในบางโครงการ
– การบริจาคจากองค์กร บริษัท ห้างร้าน และองค์กรต่างๆ อาจร่วมบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของวัด
6. รายได้อื่นๆ
– ค่าเช่าสถานที่ อาจมีการให้เช่าศาลาหรือพื้นที่บางส่วนของวัดเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม
– ดอกผลจากเงินกองทุน หากวัดมีกองทุนสะสม อาจได้รับดอกผลจากการลงทุน
ขอบคุณข้อมูล: naewna